ประวัติศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ วัดโปรดเกศเชษฐาราม
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐบาล จุดประสงค์ เพื่อให้เด็กได้เข้าใกล้วัด ให้พระได้อบรมสั่งสอน ปลูกฝังนิสัยตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งเปรียบเสมือนผ้าขาวสะอาด จะซักย้อมอย่างไรก็เป็นการง่าย เหมือนไม้ อ่อนย่อมดัดง่ายกว่าไม้แก่ อีกประการหนึ่งเพื่อช่วยเหลือผู้ปกครองในการ อบรมและแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูบุตรหลาน ผู้ปกครองจะได้มีเวลา ประกอบอาชีพการงานได้มากขึ้น
ความไม่พร้อมของวัด
วัดโปรดเกศเชษฐารามในปีนั้นยังไม่พร้อมที่จะตั้งศูนย์ฯ เพราะสถานที่ไม่ อำนวย แต่เจ้าหน้าที่ของทางราชการไม่สามารถที่จะหาวัดให้ขยายงานได้ตามนโยบายของรัฐบาล จึงพยายามจะให้รับจัดการ ขณะนั้น พระครูศีลคุณาลังการ เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันยังรักษาการเจ้าอาวาส ก็ยังไม่แน่ใจว่าอนาคตจะดำเนินการอย่างไร ตลอดจนค่าใช้จ่าย แต่ก็ยินดีให้เปิดศูนย์ดำเนินการได้ โดยตั้งจุดประสงค์ว่าเป็นการกุศล
ปี พ.ศ. 2536 วันที่ 9 มิถุนายน ศูนย์เปิดเรียน มีเด็ก 22 คน ครูสอนและครูพี่เลี้ยงรวม 2 คน ใช้ศาลาการเปรียบส่วนหลังนอกเป็นห้องเรียน การเรียนก็ไม่สะดวกนักเพราะเวลาที่วัดต้องการใช้สถานที่ประกอบการกุศล เช่น งานศพ งานบวชนาค ก็ต้องหยุดเรียน การเลี้ยง อาหารกลางวันก็ให้เด็ก ๆ นำอาหารกลางวันมากินเองในปีนั้น คาดว่าคงจะได้รับงบประมาณมาช่วยตามหลักการที่กรมการศาสนากำหนดไว้ แต่ปรากฏว่า ไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่ประการใดวัดจึงได้ทำการกุศลสมจริงดังที่ตั้งใจไว้ มาถึงปีงบประมาณ 2537 งบประมาณมีจำกัด เพราะศูนย์ทั่วประเทศเปิดมากเกินไปจนจัดสรรเงินไม่ลงตัว ศูนย์ฯ วัดโปรดเกศเชษฐารามได้รับมาส่วนหนึ่ง เป็นค่าตอบแทนครู 1 คน นอกนั้นวัดรับภาระทั้งหมด
ปี 2538 ศูนย์ฯ ได้ย้ายไปอยู่อาคารโรงเรียนปริยัติธรรม ซึ่งยังว่างอยู่ทั้ง 3 ชั้น ในปีนั้นพีระยานุเคราะห์มูลนิธิ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยมี ดร.อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ ได้ยื่นมือเข้ามาโอบอุ้ม รับศูนย์ฯ ไว้ในอุปการะ ได้อุปถัมภ์เงินเป็นค้าใช้จ่ายเงินเดือนครูและค่าอาหารกลางวันแก่เด็ก ตลอดจนเครื่องชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนการสอนหลายชนิด ทำให้ศูนย์ฯสามารถดำเนินงานได้คล่องตัวมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การอุปการะของพีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯ
พีระยานุเคราะห์มูลนิธิฯ ได้โอบอุ้มศูนย์อยู่ 2 ปีครั้ง เมื่อถึงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2540 ฐานะการเงินถูกกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การเงินถูกกระทบไปทั่วทุกวงการ มูลนิธิได้แจ้งให้ศูนย์ทราบว่า ให้ช่วยตัวเองไปพลางก่อน โชคดีที่เป็นปลายปีการศึกษาเหลือเวลาอีกไม่กี่เดือนก็สิ้นปีการศึกษา แต่ฐานะของศูนย์ฯ ก็กระทบมากเหมือนกัน ดีแต่ว่าปีก่อนนั้นราชการให้ค่าใช้จ่ายมากหน่อย ทำให้มีเงินพอเหลือใช้ต่อมาจนถึงสิ้นปีการศึกษา2540 (เมษายน 2540 สิ้นปีการศึกษา)
นโยบายช่วยเหลือตัวเองแบบพอเพียง
ปี 2541 ศูนย์ฯ ได้ปรับปรุงนโยบายการบริหารด้านการเงิน คือ ทำความเข้าใจกับผู้ปกครองว่า ผู้ปกครองได้รับการช่วยเหลือจากวัดมามากแล้ว คือเรียนฟรี กินฟรี มาตลอด ถึงเวลาที่ ผู้ปกครองจะต้องร่วมมือกันพยุงฐานะของศูนย์ฯไว้เพื่อประโยชน์ของบุตรหลานของท่านเองมิเช่นนั้นศูนย์ฯ จะต้องหยุดกิจการ ผู้เดือดร้อนคือท่านที่ฝากบุตรหลานไว้กับศูนย์ฯและครูอีก 8-9คน
พ.ศ.2540 เป็นปีที่เศรษฐกิจของประเทศเกิดวิกฤติ การช่วยเหลือจากมูลนิธิฯงดหมดทุกรายการ ศูนย์ฯต้องดำเนินการจัดเก็บค่าบำรุงจากผู้ปกครองปีละ 3,000 บาท (สามพันบาทถ้วน) และสามารถที่จะแบ่งชำระได้เป็นรายเดือนหรือเป็นครั้งคราว รวมแล้วครบจำนวนเท่าที่กำหนด ถือว่าชำระครบแล้ว สำหรับชุดนักเรียนผู้ปกครองต้องซื้อเอง
การดำเนินนโยบายขอรับการสนับสนุนจากผู้ปกครอง ทำให้การบริหารจัดการของศูนย์มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะมีเงินทุนที่จะจัดการบริหารทั้งด้านการเรียนการสอนและการจัดหาสื่ออุปกรณ์ที่ต้องการใช้ได้สะดวกขึ้น ทำให้ศูนย์สามารถพัฒนาได้ในทุก ๆ ด้าน
ห้องเรียนเพิ่มเป็น 6 ห้องเรียน ครูเพิ่มขึ้น เป็น 13 คน
พ.ศ.2546 ศูนย์ถ่ายโอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลทรงคนอง ครั้งแรก อ.บ.ต.ทรงคนองช่วยจ่ายเงินเดือนครูให้ส่วนหนึ่ง รวมทั้งค่าอาหารค่านม ปี 2550 อ.บ.ต.ทรงคนอง ถ่ายโอนครูไปสังกัดเป็นลูกจ้างของ อ.บ.ต.ทรงคนองทั้งหมด แต่ศูนย์ฯ ก็ยังจ่ายเงินเดือนอีกส่วนหนึ่งแก่ครูจากส่วนที่ขาดจาก อ.บ.ต.ให้