Wat Prodketchettharam
วัดโปรดเกศเชษฐาราม ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ 10130
Monday, June 6, 2011
Tuesday, May 31, 2011
Wednesday, April 6, 2011
อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุศรีลังกา
“ชาวบ้านนับหมื่น”ร่วมอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและต้นพระศรีมหาโพธิ์จาก ศรีลังกา ประดิษฐานที่ จ.ศรีสะเกษ
วันนี้ (3 เม.ย.) สมเด็จรองพระสังฆราช อุตุกะมะ ศรีพุทธรักขิตะ รัตนะปาล มหานายกะเถระ แห่งประเทศศรีลังกา ได้เสด็จเยือนวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากประเทศศรีลังกา ประดิษฐาน ณ บุษบกพุทธวิหาร ศูนย์ปฏิบัติธรรม หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท โดยมีพระมหาชัชวาลย์ โอภาโส เจ้าอาวาส พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายสมชัย ใจตรง ประธานสร้างพุทธวิหาร นำคณะพระเถรานุเถระ พระสังฆาธิการ หัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนกว่าหลายหมื่นคน เข้าเฝ้ารับเสด็จถวายสักการะ ร่วมปลูกต้นไม้มงคล 9 ต้น ภายในบริเวณลานพุทธวิหาร พร้อมกับประกอบพิธี ยกพระเศียรหลวงพ่อใหญ่นาคปรก องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานบนแท่นเหนือพุทธวิหาร
พระมหาชัชวาลย์ กล่าวว่า สำหรับพุทธวิหาร ศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดสระกำแพงใหญ่ ได้ดำเนินการก่อสร้าง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ตามปณิธานหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท อดีตเจ้าอาวาส เกจิชื่อดังแห่งแดนอีสานใต้ ที่มรณภาพไปแล้ว เพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติ วิปัสสนาศึกษาธรรม และพุทโธโลยี มุ่งให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ของศาสนาให้ครบถ้วนตามขั้นตอน คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ซึ่งหมายถึงมีความรู้คู่คุณธรรม พร้อมกับสร้างหลวงพ่อใหญ่นาคปรก องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตักกว้าง 299 นิ้ว ประดิษฐานเหนือพุทธวิหาร โดยเป็นการจำลองจากองค์จริง ที่ขุดพบโดยบังเอิญ ตามนิมิตฝันของหลวงปู่เครื่อง เพื่อให้สาธุชนสักการะบูชาอีกด้วย.
ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมของวัดสระกำแพงใหญ่ นอกเหนือพิธียกเศียรพระพุทธรูปปางนาคปรก องค์ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว จังหวัดศรีสะเกษร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังได้จัดแสดงแสงสีเสียง “ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร” ย้อนรำลึกตำนานการสร้างเมืองศรีสะเกษ ขึ้นในสถานที่จริงภายในตัวปราสาทหิน วัดสระกำแพงใหญ่ ในคืนวันที่ 4-5 เม.ย.นี้ ซึ่งถือว่าเป็นปราสาทขอมโบราณอายุกว่าพันปี ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน จ.ศรีสะเกษ โดยมีกิจกรรมลงข่วงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การบายศรีสู่ขวัญต้อนรับการแสดงดนตรีพื้นเมือง การฟ้อนรำแบบสี่เผ่าไทย การสาธิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน และการจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบพาแลง ที่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ของ จ.ศรีสะเกษ ถึงแม้ว่าจะขึ้นเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารไม่ได้ แต่นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถมาเที่ยวชม ปราสาทขอมโบราณ แห่งแดนอีสานใต้ ที่วัดสระกำแพงใหญ่ ซึ่งมีความงดงามไม่แพ้กัน.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=130729
วันนี้ (3 เม.ย.) สมเด็จรองพระสังฆราช อุตุกะมะ ศรีพุทธรักขิตะ รัตนะปาล มหานายกะเถระ แห่งประเทศศรีลังกา ได้เสด็จเยือนวัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ เพื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ และต้นพระศรีมหาโพธิ์ จากประเทศศรีลังกา ประดิษฐาน ณ บุษบกพุทธวิหาร ศูนย์ปฏิบัติธรรม หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท โดยมีพระมหาชัชวาลย์ โอภาโส เจ้าอาวาส พร้อมด้วยนายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายสมชัย ใจตรง ประธานสร้างพุทธวิหาร นำคณะพระเถรานุเถระ พระสังฆาธิการ หัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนกว่าหลายหมื่นคน เข้าเฝ้ารับเสด็จถวายสักการะ ร่วมปลูกต้นไม้มงคล 9 ต้น ภายในบริเวณลานพุทธวิหาร พร้อมกับประกอบพิธี ยกพระเศียรหลวงพ่อใหญ่นาคปรก องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ประดิษฐานบนแท่นเหนือพุทธวิหาร
พระมหาชัชวาลย์ กล่าวว่า สำหรับพุทธวิหาร ศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดสระกำแพงใหญ่ ได้ดำเนินการก่อสร้าง มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ตามปณิธานหลวงปู่เครื่อง สุภัทโท อดีตเจ้าอาวาส เกจิชื่อดังแห่งแดนอีสานใต้ ที่มรณภาพไปแล้ว เพื่อใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติ วิปัสสนาศึกษาธรรม และพุทโธโลยี มุ่งให้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ของศาสนาให้ครบถ้วนตามขั้นตอน คือ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ ซึ่งหมายถึงมีความรู้คู่คุณธรรม พร้อมกับสร้างหลวงพ่อใหญ่นาคปรก องค์ใหญ่ที่สุดในโลก ขนาดหน้าตักกว้าง 299 นิ้ว ประดิษฐานเหนือพุทธวิหาร โดยเป็นการจำลองจากองค์จริง ที่ขุดพบโดยบังเอิญ ตามนิมิตฝันของหลวงปู่เครื่อง เพื่อให้สาธุชนสักการะบูชาอีกด้วย.
ด้านนายสมศักดิ์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมของวัดสระกำแพงใหญ่ นอกเหนือพิธียกเศียรพระพุทธรูปปางนาคปรก องค์ใหญ่ที่สุดในโลกแล้ว จังหวัดศรีสะเกษร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ยังได้จัดแสดงแสงสีเสียง “ศิวะราตรีแห่งศรีพฤทเธศวร” ย้อนรำลึกตำนานการสร้างเมืองศรีสะเกษ ขึ้นในสถานที่จริงภายในตัวปราสาทหิน วัดสระกำแพงใหญ่ ในคืนวันที่ 4-5 เม.ย.นี้ ซึ่งถือว่าเป็นปราสาทขอมโบราณอายุกว่าพันปี ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดใน จ.ศรีสะเกษ โดยมีกิจกรรมลงข่วงวัฒนธรรมพื้นบ้าน การบายศรีสู่ขวัญต้อนรับการแสดงดนตรีพื้นเมือง การฟ้อนรำแบบสี่เผ่าไทย การสาธิตศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน และการจัดเลี้ยงอาหารค่ำแบบพาแลง ที่ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งมนต์เสน่ห์ของ จ.ศรีสะเกษ ถึงแม้ว่าจะขึ้นเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารไม่ได้ แต่นักท่องเที่ยวก็ยังสามารถมาเที่ยวชม ปราสาทขอมโบราณ แห่งแดนอีสานใต้ ที่วัดสระกำแพงใหญ่ ซึ่งมีความงดงามไม่แพ้กัน.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=38&contentID=130729
สามทศวรรษการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพฯ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการประชุมวิชาการ “สามทศวรรษการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ”
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการประชุมวิชาการ “สามทศวรรษการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาล ผู้ปฏิบัติงานทุกหมู่เหล่า ครูและนักเรียน ตลอดจนศิษย์เก่า ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ครบ ๓๐ ปี เมื่อปี ๒๕๕๓ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นเวทีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่สนใจได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายในบริบทของชุมชนและวัฒนธรรม จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลรายงาน และเข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเอกสาร “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ” และในการประชุมครั้งนี้ รัฐบาลน้อมเกล้า ฯ ถวายทุนการศึกษาในวงเงิน ๓๑ ล้านบาท เพื่อพระราชทานแก่นักเรียนในสายอาชีพ ระดับปริญญาตรี จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานของที่ระลึกให้แก่ผู้มีอุปการคุณสนับสนุน กองทุน กพด. ในการก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ ๓๐ ปี การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ
เวลา ๐๙.๒๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายพิเศษ เรื่อง “สามสิบปีการพัฒนาเด็กและเยาวชน : ร่วมกันสร้างโอกาสที่ดีกว่า” จากนั้น นายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคด้านการศึกษาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ได้บรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติโลกทางเศรษฐกิจต่อการศึกษาของเด็กและเยาวชน” และ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยาย เรื่อง “สถานการณ์เด็กและเยาวชนในประเทศไทย” และทอดพระเนตรการแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จากนั้น ทรงพระราชดำเนินไปยังอาคารมหาจักรีสิริรธร ทอดพระเนตรนิทรรศการวิชาการเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรในส่วนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมี นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เฝ้ารับเสด็จ ฯ เสด็จพระราชดำเนินกลับ.
ชัพชัย ตีระวนิช / ภาพนิ่ง , ข่าว
กองพุทธสารนิเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปในการประชุมวิชาการ “สามทศวรรษการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระดับชาติ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งรัฐบาล ผู้ปฏิบัติงานทุกหมู่เหล่า ครูและนักเรียน ตลอดจนศิษย์เก่า ร่วมกันจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๓๐ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ ในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงงานด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ครบ ๓๐ ปี เมื่อปี ๒๕๕๓ เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และเป็นเวทีสำหรับผู้ปฏิบัติงาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่สนใจได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลายในบริบทของชุมชนและวัฒนธรรม จากนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กราบบังคมทูลรายงาน และเข้าเฝ้า ฯ ทูลเกล้า ฯ ถวายเอกสาร “โครงการทุนการศึกษาเฉลิมพระเกียรติ” และในการประชุมครั้งนี้ รัฐบาลน้อมเกล้า ฯ ถวายทุนการศึกษาในวงเงิน ๓๑ ล้านบาท เพื่อพระราชทานแก่นักเรียนในสายอาชีพ ระดับปริญญาตรี จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานของที่ระลึกให้แก่ผู้มีอุปการคุณสนับสนุน กองทุน กพด. ในการก่อสร้างถาวรวัตถุเพื่อเป็นอนุสรณ์ครบรอบ ๓๐ ปี การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ
เวลา ๐๙.๒๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายพิเศษ เรื่อง “สามสิบปีการพัฒนาเด็กและเยาวชน : ร่วมกันสร้างโอกาสที่ดีกว่า” จากนั้น นายควาง-โจ คิม ผู้อำนวยการองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ สำนักงานประจำภูมิภาคด้านการศึกษาภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก ได้บรรยาย เรื่อง “ผลกระทบของวิกฤติโลกทางเศรษฐกิจต่อการศึกษาของเด็กและเยาวชน” และ ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยาย เรื่อง “สถานการณ์เด็กและเยาวชนในประเทศไทย” และทอดพระเนตรการแสดงของนักเรียนจากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จากนั้น ทรงพระราชดำเนินไปยังอาคารมหาจักรีสิริรธร ทอดพระเนตรนิทรรศการวิชาการเฉลิมพระเกียรติเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมทั้งการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนา ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทอดพระเนตรในส่วนของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ในโครงการตามพระราชดำริ ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมี นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ พร้อมด้วยข้าราชการและเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เฝ้ารับเสด็จ ฯ เสด็จพระราชดำเนินกลับ.
ชัพชัย ตีระวนิช / ภาพนิ่ง , ข่าว
กองพุทธสารนิเทศ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พุทธวจนะจากพระโอษฐ์ ตอน การให้ทานของคนดี
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปรุสทาน (การให้ของคนดี) ๕ อย่างเหล่านี้ คือ
๑. ให้ทานด้วยศรัทธา (ความเชื่ออย่างมีเหตุผล)
๒. ให้ทานด้วยความเคารพ
๓. ให้ทานตามกาล
๔. ให้ทานมีจิตอนุเคราะห์
๕. ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลให้ทานด้วยความเชื่อแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนันเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามอย่างยิ่ง."
"บุคคลให้ทานด้วยความเคารพแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีบุตร, ภรรยา, ทาส, คนรับใช้ หรือกรรมกรก็ตาม บุคคลเหล่านั้นย่อมสนใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตรับรู้ (คำสั่ง)๔."
"บุคคลให้ทานตามกาลแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความต้องการทั้งหลายของเขาที่เกิดขึ้นตามกาล ย่อมบริบูรณ์."
"บุคคลให้ทานมีจิตอนุเคราะห์แล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และจิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคในกามคุณ ๕ อันโอฬาร๕."
"บุคคลให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่นแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความล่มจมแห่งโภคะของเขา ย่อมไม่มาจากที่ไหน ๆ คือจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากทายาท (ผู้รับมรดก) ซึ่งไม่เป็นที่รัก."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัปปุริสทาน ๕ อย่าง."
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๒
โดย พระอาจารย์เผด็จ เมื่อ 2011-04-06
๑. ให้ทานด้วยศรัทธา (ความเชื่ออย่างมีเหตุผล)
๒. ให้ทานด้วยความเคารพ
๓. ให้ทานตามกาล
๔. ให้ทานมีจิตอนุเคราะห์
๕. ให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่น
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลให้ทานด้วยความเชื่อแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนันเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงดงามอย่างยิ่ง."
"บุคคลให้ทานด้วยความเคารพแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเขามีบุตร, ภรรยา, ทาส, คนรับใช้ หรือกรรมกรก็ตาม บุคคลเหล่านั้นย่อมสนใจฟัง ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตรับรู้ (คำสั่ง)๔."
"บุคคลให้ทานตามกาลแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความต้องการทั้งหลายของเขาที่เกิดขึ้นตามกาล ย่อมบริบูรณ์."
"บุคคลให้ทานมีจิตอนุเคราะห์แล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และจิตของเขาย่อมน้อมไปเพื่อบริโภคในกามคุณ ๕ อันโอฬาร๕."
"บุคคลให้ทานไม่กระทบตน ไม่กระทบผู้อื่นแล้ว ในที่ที่ผลแห่งทานนั้นเกิดขึ้นแก่เขา เขาย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และความล่มจมแห่งโภคะของเขา ย่อมไม่มาจากที่ไหน ๆ คือจากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากทายาท (ผู้รับมรดก) ซึ่งไม่เป็นที่รัก."
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัปปุริสทาน ๕ อย่าง."
ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๒/๑๙๒
โดย พระอาจารย์เผด็จ เมื่อ 2011-04-06
ต่างชาติแห่บวชกับหลวงปู่ทอง
แนวทางการสอนวิปัสสนากรรมฐานของพระสงฆ์ไทยที่โด่งดังระดับอินเตอร์ จนมีชาวต่างชาติลงทุนเช่าเครื่องบินเพื่อเดินทางมาฝึกในครั้งนี้
เปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 3 เม.ย. โดยนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ (พศจ.เชียงใหม่) กล่าวว่า เมื่อช่วงปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีชาวจีนที่ีมีความศรัทธาในแนวทางการสอน วิปัสสนากรรมฐานของพระครูภาวนาวิรัช เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน 84 คน เช่าเครื่องบินเหมาลำเดินทางมาจากประเทศจีน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ และบวชชีที่วัดร่ำเปิงเป็นเวลาถึง 1 เดือน และได้ลาสิกขาไปเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีชาวจีนเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จำนวน 28 รูป บวชชี 50 คน บวชชีพราหมณ์ 5 คน และมีเจ้าหน้าที่ประสานงาน 4 คน
ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อไปว่า จากการสอบถามชาวจีนที่เดินทางเข้ามาบวชทราบว่า ได้เคยเดินทางมาฝึกวิปัสสนากับพระธรรมมังคลาจารย์ หรือหลวงปู่ทอง เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และเกิดความศรัทธา แต่ต่อมาเริ่มมีชาวต่างชาตินิยมในการฝึกวิปัสสนาที่วัดพระธาตุศรีจอมทองมากขึ้น สถานที่จึงไม่เพียงพอ ประกอบกับทราบมาว่าพระธรรมมังคลาจารย์ มีลูกศิษย์ที่มีแนวทางในการสอนวิปัสสนาที่ดีเช่นกันคือ พระครูภาวนาวิรัช เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง จึงลองเดินทางไปฝึกวิปัสสนากับพระครูภาวนาวิรัช แล้วเกิดความศรัทธา จึงชักชวนชาวจีนจากมณฑลต่าง ๆ เช่าเครื่องบินเหมาลำมาบวชและฝึกวิปัสสนาที่วัดร่ำเปิง
นายณรงค์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงหลังเริ่มมีชาวต่างชาติให้ความสนใจมากขึ้น โดยที่วัดพระธาตุศรีจอมทองเองก็มีชาวต่างชาติทั้งจีน ไต้หวัน พม่า สิงคโปร์ เยอรมัน อังกฤษ เดินทางมาบวชชีเพื่อฝึกวิปัสสนาเป็นประจำ รวมไปถึงวัดที่มีลูกศิษย์ของพระธรรมมังคลาจารย์อยู่ เช่น วัดร่ำเปิง ก็ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติไม่แพ้กัน อีกทั้งแนวทางการสอนวิปัสสนาของพระธรรมมังคลาจารย์ยังเป็นที่ยอมรับในหมู่พระวิปัสสนาด้วยกันด้วย โดยเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ทางรัฐบาลพม่าได้ถวายสมณศักดิ์ “อัคกา มหา กัมมัตตานา คาริยา” (Agga Maha Kammatthana Cariya) ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดสำหรับพระสงฆ์สายวิปัสสนาของพม่าแด่พระธรรมมังคลาจารย์ด้วย.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=130779
เปิดเผยขึ้นเมื่อวันที่ 3 เม.ย. โดยนายณรงค์ ทรงอารมณ์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ (พศจ.เชียงใหม่) กล่าวว่า เมื่อช่วงปลายเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีชาวจีนที่ีมีความศรัทธาในแนวทางการสอน วิปัสสนากรรมฐานของพระครูภาวนาวิรัช เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ จำนวน 84 คน เช่าเครื่องบินเหมาลำเดินทางมาจากประเทศจีน เพื่อมาบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ และบวชชีที่วัดร่ำเปิงเป็นเวลาถึง 1 เดือน และได้ลาสิกขาไปเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดยมีชาวจีนเข้ารับการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์จำนวน 28 รูป บวชชี 50 คน บวชชีพราหมณ์ 5 คน และมีเจ้าหน้าที่ประสานงาน 4 คน
ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อไปว่า จากการสอบถามชาวจีนที่เดินทางเข้ามาบวชทราบว่า ได้เคยเดินทางมาฝึกวิปัสสนากับพระธรรมมังคลาจารย์ หรือหลวงปู่ทอง เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ และเกิดความศรัทธา แต่ต่อมาเริ่มมีชาวต่างชาตินิยมในการฝึกวิปัสสนาที่วัดพระธาตุศรีจอมทองมากขึ้น สถานที่จึงไม่เพียงพอ ประกอบกับทราบมาว่าพระธรรมมังคลาจารย์ มีลูกศิษย์ที่มีแนวทางในการสอนวิปัสสนาที่ดีเช่นกันคือ พระครูภาวนาวิรัช เจ้าอาวาสวัดร่ำเปิง จึงลองเดินทางไปฝึกวิปัสสนากับพระครูภาวนาวิรัช แล้วเกิดความศรัทธา จึงชักชวนชาวจีนจากมณฑลต่าง ๆ เช่าเครื่องบินเหมาลำมาบวชและฝึกวิปัสสนาที่วัดร่ำเปิง
นายณรงค์ กล่าวด้วยว่า ในช่วงหลังเริ่มมีชาวต่างชาติให้ความสนใจมากขึ้น โดยที่วัดพระธาตุศรีจอมทองเองก็มีชาวต่างชาติทั้งจีน ไต้หวัน พม่า สิงคโปร์ เยอรมัน อังกฤษ เดินทางมาบวชชีเพื่อฝึกวิปัสสนาเป็นประจำ รวมไปถึงวัดที่มีลูกศิษย์ของพระธรรมมังคลาจารย์อยู่ เช่น วัดร่ำเปิง ก็ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติไม่แพ้กัน อีกทั้งแนวทางการสอนวิปัสสนาของพระธรรมมังคลาจารย์ยังเป็นที่ยอมรับในหมู่พระวิปัสสนาด้วยกันด้วย โดยเมื่อวันที่ 19 มี.ค. ทางรัฐบาลพม่าได้ถวายสมณศักดิ์ “อัคกา มหา กัมมัตตานา คาริยา” (Agga Maha Kammatthana Cariya) ซึ่งเป็นสมณศักดิ์สูงสุดสำหรับพระสงฆ์สายวิปัสสนาของพม่าแด่พระธรรมมังคลาจารย์ด้วย.
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=130779
Saturday, April 2, 2011
พศ.จัดตั้ง "ศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรที่ประสบอุทกภัย"
พศ.จัดตั้ง "ศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรที่ประสบอุทกภัย"
ขอเชิญผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน และเครื่องอุปโภคบริโภค
เพื่อให้ความช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรและประชาชนที่ประสบอุทกภัย
โดยสามารถบริจาคเงินเข้าบัญชี "กองทุนผู้ประสบอุบัติภัย" ธนาคารกรุงไทย จำกัด
สาขากระทรวงศึกษาธิการ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๐๕๙ - ๐ - ๐๑๒๑๙ - ๓
หรือบริจาคด้วยตนเองได้ที่ ฝ่ายคลัง กองกลาง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
หรือบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นแก่พระภิกษุสามเณร ณ
ห้องโถงด้านหน้า คารอารหอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบูรณะและพัฒนาวัด
กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โทร.๐ ๒๔๔๑
เพื่อให้ความช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรและประชาชนที่ประสบอุทกภัย
โดยสามารถบริจาคเงินเข้าบัญชี "กองทุนผู้ประสบอุบัติภัย" ธนาคารกรุงไทย จำกัด
สาขากระทรวงศึกษาธิการ บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี ๐๕๙ - ๐ - ๐๑๒๑๙ - ๓
หรือบริจาคด้วยตนเองได้ที่ ฝ่ายคลัง กองกลาง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
หรือบริจาคข้าวสาร อาหารแห้ง เครื่องอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นแก่พระภิกษุสามเณร ณ
ห้องโถงด้านหน้า คารอารหอสมุดพระพุทธศาสนามหาสิรินาถ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายบูรณะและพัฒนาวัด
กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โทร.๐ ๒๔๔๑
มส. คณะสงฆ์ส่วนกลาง และ พศ. ให้ความช่วยเหลือวัดในพื้นที่ภาคใต้
มหาเถรสมาคม คณะสงฆ์ส่วนกลาง และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
เร่งระดมให้ความช่วยเหลือวัด พระภิกษุสามเณร
และชุมชนรอบวัดผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
จากสภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณภาคใต้ ส่งผลกระทบให้วัดต่าง ๆ
ได้รับความเสียหาย
พระภิกษุสามเณรและประชาชนได้รับความเดือดร้อนครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพร
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง
และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการ ดังนี้
๑. ได้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ประสานเจ้าคณะจังหวัด
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบว่าขณะนี้มีวัดใดที่ประสบอุทกภัย
พระภิกษุสามเณร ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ โดยขอให้แจ้งชื่อวัด สถานที่ตั้ง
จำนวนพระภิกษุ สามเณรในวัด และความต้องการเครื่องอุปโภคบริโภคในเบื้องต้น
๒. กรณีวัดที่สามารถเข้าตรวจสอบความเสียหายของเสนาสนะได้แล้ว
ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประสานสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด /
เทศบาล / อบต. ในพื้นที่ เพื่อสำรวจและประมาณการค่าเสียหายของอาคารเสนาสนะ
โดยขอให้จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายความเสียหายของแต่ละวัดที่ประสบอุทกภัย
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)
พร้อมภาพถ่าย ส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อรายงานมหาเถรสมาคมทราบ
และรายงานคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตาม การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.)
เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณการบูรณะซ่อมแซมต่อไป
๓. จากการสำรวจสถานการณ์อุทกภัยในเบื้องต้น
จังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยได้รายงานข้อมูล สรุปได้ดังนี้
๓.๑
จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๓ อำเภอ ๑๑ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๙๐ รูป
๓.๒
จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๔ อำเภอ ๑๑ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๑๖๑ รูป
๓.๓
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๙ อำเภอ ๒๘๖ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๑,๖๓๗ รูป และเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔
เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ได้เกิดดินถล่มในพื้นที่หมู่ที่ ๘ ตำบลในพลา อำเภอขนอม
จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้พระภิกษุ ที่ปักกรดในพื้นที่ดังกล่าวประสบภัยมรณภาพ
จำนวน ๒ รูป คือ พระภัทรกร จิระวรา อายุ ๔๙ ปี พรรษา ๗ และพระอภิชาติ คุ้มประดิษฐ์
อายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๒ โดยพระภิกษุทั้งสองรูป สังกัดวัดบึงลัฏฐิวัน ตำบลท่าหลวง
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอำเภอขนอม ได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลศพ
ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ วัดกระดังงา หมู่ที่ ๙ ตำบลขนอม อำเภอขนอม จำนวน ๑ คืน
และในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ญาติของพระภิกษุที่มรณภาพ ได้รับศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ
วัดบึงลัฏฐิวัน ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แล้ว
๓.๔ จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๑ อำเภอ
๑๔๒ วัด/ที่พักสงฆ์ พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๖๙๐ รูป
๓.๕ จังหวัดยะลา มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๓ อำเภอ ๖ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๒๓ รูป
๓.๖
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๗ อำเภอ ๘๔ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๔๕๙ รูป
๓.๗
จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๕ อำเภอ ๓๑ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๓๖๙ รูป
สรุป ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ มีวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ได้รับผลกระทบในเบื้องต้นจำนวน ๗ จังหวัด
๖๒ อำเภอ ๕๗๑ วัด/ที่พักสงฆ์ พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๓,๔๒๙ รูป
ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดอื่น ๆ จะได้เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
หากมีความคืบหน้าอย่างไร จะได้รายงานเพื่อโปรดทราบอีกครั้งหนึ่ง
การให้ความช่วยเหลือ
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพระภิกษุสามเณรในเบื้องต้น
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการ ดังนี้
๑.
นำเงินกองทุนผู้ประสบอุบัติภัย จำนวน ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกแสนบาทถ้วน)
เพื่อจัดซื้อสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคถวายพระภิกษุสามเณรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่
๒. ในส่วนของพระภิกษุสามเณรที่ไม่สามารถบิณฑบาตได้ตามปกติ
ได้นำเงินกองทุนวัดช่วยวัด จัดถวายพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒,๙๔๗ รูป ๆ ละ ๑๐๐ บาท
เป็นเวลา ๓๐ วัน เป็นเงิน ๘,๘๔๑,๐๐๐ บาท
๓.
จัดตั้งศูนย์รับบริจาคปัจจัยและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด
ในการนี้ นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
จะได้ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ระหว่างวันที่ ๑
– ๓ เมษายน ๒๕๕๔ เพื่อตรวจเยี่ยมวัดและมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค
และยารักษาโรคที่จำเป็น ถวายพระภิกษุสามเณรและมอบให้ชุมชนรอบวัด
ในส่วนของจังหวัดอื่น ๆ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในพื้นที่ได้ดำเนินการถวายการช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรในเบื้องต้นแล้วบางส่วน
ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะได้จัดส่งสิ่งของช่วยเหลือเพิ่มเติม
ต่อไป
กองพุทธศาสนสถาน
ฝ่ายบูรณะและพัฒนาวัด
โทร. ๐ ๒๔๔๑
๔๕๓๙
โทรสาร ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๓๖
เร่งระดมให้ความช่วยเหลือวัด พระภิกษุสามเณร
และชุมชนรอบวัดผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้
จากสภาวะอุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่บริเวณภาคใต้ ส่งผลกระทบให้วัดต่าง ๆ
ได้รับความเสียหาย
พระภิกษุสามเณรและประชาชนได้รับความเดือดร้อนครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพร
สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พัทลุง
และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการ ดังนี้
๑. ได้แจ้งสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัด ประสานเจ้าคณะจังหวัด
และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อตรวจสอบว่าขณะนี้มีวัดใดที่ประสบอุทกภัย
พระภิกษุสามเณร ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้ โดยขอให้แจ้งชื่อวัด สถานที่ตั้ง
จำนวนพระภิกษุ สามเณรในวัด และความต้องการเครื่องอุปโภคบริโภคในเบื้องต้น
๒. กรณีวัดที่สามารถเข้าตรวจสอบความเสียหายของเสนาสนะได้แล้ว
ขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดประสานสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด /
เทศบาล / อบต. ในพื้นที่ เพื่อสำรวจและประมาณการค่าเสียหายของอาคารเสนาสนะ
โดยขอให้จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายความเสียหายของแต่ละวัดที่ประสบอุทกภัย
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.)
พร้อมภาพถ่าย ส่งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เพื่อรายงานมหาเถรสมาคมทราบ
และรายงานคณะกรรมการอำนวยการกำกับ ติดตาม การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.)
เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณการบูรณะซ่อมแซมต่อไป
๓. จากการสำรวจสถานการณ์อุทกภัยในเบื้องต้น
จังหวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยได้รายงานข้อมูล สรุปได้ดังนี้
๓.๑
จังหวัดกระบี่ มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๓ อำเภอ ๑๑ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๙๐ รูป
๓.๒
จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๔ อำเภอ ๑๑ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๑๖๑ รูป
๓.๓
จังหวัดนครศรีธรรมราช มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๙ อำเภอ ๒๘๖ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๑,๖๓๗ รูป และเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔
เวลาประมาณ ๐๕.๐๐ น. ได้เกิดดินถล่มในพื้นที่หมู่ที่ ๘ ตำบลในพลา อำเภอขนอม
จังหวัดนครศรีธรรมราช ทำให้พระภิกษุ ที่ปักกรดในพื้นที่ดังกล่าวประสบภัยมรณภาพ
จำนวน ๒ รูป คือ พระภัทรกร จิระวรา อายุ ๔๙ ปี พรรษา ๗ และพระอภิชาติ คุ้มประดิษฐ์
อายุ ๓๖ ปี พรรษา ๑๒ โดยพระภิกษุทั้งสองรูป สังกัดวัดบึงลัฏฐิวัน ตำบลท่าหลวง
อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยอำเภอขนอม ได้ประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลศพ
ในวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ วัดกระดังงา หมู่ที่ ๙ ตำบลขนอม อำเภอขนอม จำนวน ๑ คืน
และในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๔ ญาติของพระภิกษุที่มรณภาพ ได้รับศพไปตั้งบำเพ็ญกุศล ณ
วัดบึงลัฏฐิวัน ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
แล้ว
๓.๔ จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๑ อำเภอ
๑๔๒ วัด/ที่พักสงฆ์ พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๖๙๐ รูป
๓.๕ จังหวัดยะลา มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๓ อำเภอ ๖ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๒๓ รูป
๓.๖
จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๑๗ อำเภอ ๘๔ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๔๕๙ รูป
๓.๗
จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประสบอุทกภัย ๕ อำเภอ ๓๑ วัด/ที่พักสงฆ์
พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๓๖๙ รูป
สรุป ข้อมูล ณ วันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๔ มีวัดในพื้นที่ประสบอุทกภัยที่ได้รับผลกระทบในเบื้องต้นจำนวน ๗ จังหวัด
๖๒ อำเภอ ๕๗๑ วัด/ที่พักสงฆ์ พระภิกษุสามเณรได้รับความเดือดร้อน จำนวน ๓,๔๒๙ รูป
ทั้งนี้ ในส่วนของจังหวัดอื่น ๆ จะได้เฝ้าระวังสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง
หากมีความคืบหน้าอย่างไร จะได้รายงานเพื่อโปรดทราบอีกครั้งหนึ่ง
การให้ความช่วยเหลือ
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของพระภิกษุสามเณรในเบื้องต้น
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ดำเนินการ ดังนี้
๑.
นำเงินกองทุนผู้ประสบอุบัติภัย จำนวน ๑,๖๐๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกแสนบาทถ้วน)
เพื่อจัดซื้อสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคถวายพระภิกษุสามเณรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่
๒. ในส่วนของพระภิกษุสามเณรที่ไม่สามารถบิณฑบาตได้ตามปกติ
ได้นำเงินกองทุนวัดช่วยวัด จัดถวายพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒,๙๔๗ รูป ๆ ละ ๑๐๐ บาท
เป็นเวลา ๓๐ วัน เป็นเงิน ๘,๘๔๑,๐๐๐ บาท
๓.
จัดตั้งศูนย์รับบริจาคปัจจัยและเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคผ่านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดทุกจังหวัด
ในการนี้ นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
จะได้ลงพื้นที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง ระหว่างวันที่ ๑
– ๓ เมษายน ๒๕๕๔ เพื่อตรวจเยี่ยมวัดและมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภค
และยารักษาโรคที่จำเป็น ถวายพระภิกษุสามเณรและมอบให้ชุมชนรอบวัด
ในส่วนของจังหวัดอื่น ๆ
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดในพื้นที่ได้ดำเนินการถวายการช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรในเบื้องต้นแล้วบางส่วน
ทั้งนี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จะได้จัดส่งสิ่งของช่วยเหลือเพิ่มเติม
ต่อไป
กองพุทธศาสนสถาน
ฝ่ายบูรณะและพัฒนาวัด
โทร. ๐ ๒๔๔๑
๔๕๓๙
โทรสาร ๐ ๒๔๔๑ ๔๕๓๖
ประชุมเจ้าคณะภาควางแผนงานเชิงรุก
พระพรหมโมลี
เจ้าคณะใหญ่หนกลางรูปใหม่เตรียมประชุมเจ้าคณะภาควางแผนงานเชิงรุกให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แด่พระพรหมโมลี
วัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะภาค 1 ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคม (มส.)
ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แทนสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ที่ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา
พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กล่าวว่า
หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง จากนี้ไปจะต้องทำงานหนักขึ้น
และต้องยึดแนวปฏิบัติของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นหลัก
รวมทั้งแนวการทำงานในรูปแบบของตน
โดยจะต้องมีการประชุมเจ้าคณะภาคที่อยู่ในการดูแลของหนกลางทั้งหมด ได้แก่ เจ้าคณะภาค
1 เจ้าคณะภาค 2 เจ้าคณะภาค 3 เจ้าคณะภาค 14 และเจ้าคณะภาค 15
เพื่อวางแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันมากที่สุด
“ขณะนี้ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 ได้ว่างลง จากนี้ไป อาตมาจะต้องพิจารณา
ผู้เหมาะสมกับการเป็นเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาเลือก พระรูปที่เหมาะสม
ให้มาทำหน้าที่ดูแลคณะสงฆ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สานต่องานจากอาตมา
โดยคาดว่า จะคัดเลือกได้ในเร็วๆนี้”เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กล่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=129975
เจ้าคณะใหญ่หนกลางรูปใหม่เตรียมประชุมเจ้าคณะภาควางแผนงานเชิงรุกให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร สมเด็จพระพุฒาจารย์
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แด่พระพรหมโมลี
วัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะภาค 1 ที่ได้รับการแต่งตั้งจากมหาเถรสมาคม (มส.)
ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แทนสมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม
เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ที่ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา
พระพรหมโมลี วัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กล่าวว่า
หลังจากที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง จากนี้ไปจะต้องทำงานหนักขึ้น
และต้องยึดแนวปฏิบัติของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เป็นหลัก
รวมทั้งแนวการทำงานในรูปแบบของตน
โดยจะต้องมีการประชุมเจ้าคณะภาคที่อยู่ในการดูแลของหนกลางทั้งหมด ได้แก่ เจ้าคณะภาค
1 เจ้าคณะภาค 2 เจ้าคณะภาค 3 เจ้าคณะภาค 14 และเจ้าคณะภาค 15
เพื่อวางแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันมากที่สุด
“ขณะนี้ตำแหน่งเจ้าคณะภาค 1 ได้ว่างลง จากนี้ไป อาตมาจะต้องพิจารณา
ผู้เหมาะสมกับการเป็นเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งจะต้องมีการพิจารณาเลือก พระรูปที่เหมาะสม
ให้มาทำหน้าที่ดูแลคณะสงฆ์ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล สานต่องานจากอาตมา
โดยคาดว่า จะคัดเลือกได้ในเร็วๆนี้”เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กล่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=129975
Subscribe to:
Posts (Atom)